ชำแหละสูตรตั้งรัฐบาล 3 ตัวเต็ง นั่งนายกฯ ลุยโหวต รอบ 2

หลังจากเมื่อวาน (14 ก.ค.66) โหวตนายพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ประสบความสำเร็จ สูตรตั้งรัฐบาลก็ถูกวนกลับมาพูดถึงอีกว่า สรุปนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย จะมีโอกาสเป็นใครได้บ้าง

สูตรแรก คือ สูตรปกติ นายพิธา นำทีมตั้งรัฐบาล สูตรนี้ดูผลโหวตเมื่อวาน เรียกได้ว่าแทบจะปิดประตูตายไปแล้ว

 ชำแหละสูตรตั้งรัฐบาล 3 ตัวเต็ง นั่งนายกฯ ลุยโหวต รอบ 2

ซึ่งสูตรที่ 2 “สูตรข้าวต้มมัด” คือ เพื่อไทยนำตั้งรัฐบาล มีก้าวไกลร่วมจับมือด้วย เสียงในพรรคร่วมยังเท่าเดิม 312 เสียง รวมกัน 8 พรรคการเมือง ส่วนนายกรัฐมนตรี จะเป็นนายเศรษฐา หรือ น.ส.แพทองธารคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

แก้มาตรา 272 ปิดสวิตซ์ ส.ว. ใช้เสียงวุฒิสภามากกว่าโหวต "พิธา" นั่งนายกฯ

ออกหนังสือ เรียกประชุมรัฐสภา โหวตนายกรัฐมนตรี 19 ก.ค.นี้

ยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ตลอดสูตรที่ 3 คือ “ขั้วรัฐบาลเดิม” ทั้งภูมิใจไทย พลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติ สูตรนี้จะมีเสียงรวมแค่ 182 เสียง สามารถตั้งรัฐบาลได้ หากส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจากสูตรนี้ ตามกระแสข่าวตอนนี้ มีชื่อ พล.อ.ประวิตร นำโด่งมาเป็นอันดับ 1

แม้ว่าบางคนจะมองว่าสูตรนี้เป็นไปได้ยาก เพราะ ต่อให้ตั้งรัฐบาลได้ก็จะบริหารประเทศไม่ได้ เนื่องจาก มีเสียงแค่ 182 เสียง ยังไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร (250เสียง) แต่ในทางการเมืองก็เชื่อกันว่าถ้าเป็นสูตรนี้จริง สามารตั้งต้นไว้ก่อนแล้วดึงเสียงอีกฝั่งข้ามมาได้

ส่วนสูตรที่ 4 “ดีลรักสลับขั้ว” เปิดหน้าชนไปเลย คือ เพื่อไทย ย้ายขั้วไปจับกับรัฐบาลเดิม ภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ชาติไทยพัฒนา และ อาจจะมีประชาชาติข้ามขั้วมาด้วย ถ้านับแค่ 5 พรรคนี้ก่อน ยังไม่ร่วมพรรคเล็กพรรคย่อย ก็จะมีเสียง 271 เสียงในมือ ซึ่งถือว่า เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และ หากรวมกับเสียงส.ว. ก็น่าจะพอขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้

ซึ่งสูตรสุดท้ายนี้ จะเป็น พล.อ.ประวิตร ขึ้นเป็นนายกฯ หรือ น.ส.แพทองธาร จากเพื่อไทย ก็ยังต้องคุยกันก่อน

ทั้งหมดนี้หมายความว่า แม้แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จะมี 8 คน ที่มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อชิงนายกรัฐมนตรี แต่ตัวเต็ง 3 คน ที่ถูกคาดการณ์ว่า มีโอกาสสูงที่จะนั่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 คือ

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร , นายเศรษฐา ทวีสิน และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

สาเหตุที่เหลือแค่ 3 คน ชื่อนายพิธา ถูกตัดออกไป เพราะ อย่างที่เห็นเมื่อวาน มี ส.ว.ที่ ไม่เห็นชอบให้นายพิธา นั่งนายกรัฐมนตรี 34 คน , งดออกเสียง 159 คน และขาดประชุม 43 คน รวมทั้งหมด เป็น 236 คน

แม้ว่า จะแสดงออกต่างกัน แต่ คน 3 กลุ่มนี้ ปฎิเสธไม่ได้ว่าทำให้นายพิธา ไม่ได้นั่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศ

เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่าต้องได้เสียงสนับสนุนเกิน กึ่งหนึ่งของรัฐสภา จึงจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ กติกาไม่ได้บอกว่า แค่ชนะโหวตได้คะแนนมากกว่า ฝ่ายไม่เห็นชอบ

ดังนั้น การงดออกเสียง หรือ ขาดประชุม จึงถูกวิจารณ์ว่าเป็นทางเลี่ยง ที่มีผลลัพธ์เหมือนกัน คือ สกัดนายพิธา ให้ไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่เกมของ ส.ว.ไม่จบแค่สกัดนายพิธา นั่งนายกฯ เพราะจริงๆ มี ส.ว.หลายคนออกมาพูดว่า ไม่สนับสนุน รัฐบาลที่มีแนวคิดเสนอกฎหมายแก้ไขมาตรา 112 คำตอบนี้สะท้อนว่า ส.ว.ที่ใช้เกณฑ์เรื่องมาตรา 112 เป็นจุดชี้วัดไม่เลือกนายพิธา ไม่ต้องการให้ก้าวไกลร่วมรัฐบาล

หนึ่งในคนที่มีความเห็นแบบนี้ คือ นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา ให่สัมภาษณ์ ย้ำว่า ถ้าก้าวไกลยังยืนยันแก้ไขมาตรา 112 ต่อให้พลิกเอาพรรคเพื่อไทยหรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ส.ว.ก็จะไม่ยกมือโหวตให้

คำถามสำคัญต่อมาคือหาก ส.ว.ไม่ต้องการเลือกก้าวไกล แล้วจะเอาพรรคไหน เอาใครมาเป็นรัฐบาล มาเป็นนายกรัฐมนตรี นายเสรี บอกว่า ไม่ได้ระบุตัวบุคคล แต่ก็มองว่าไม่มีเงื่อนไขเรื่องมาตรา 112 ส.ว.ก็จะเป็นอิสระในการตัดสินใจ และจะทำให้หันไปดูเรื่องคุณสมบัติและนโยบายอื่นๆของพรรคที่เสนอชื่อนายกรัฐมนตรี

โจทย์ใหญ่การตั้งรัฐบาลตอนนี้ จึงอยู่ที่เพื่อไทย จะเอายังไง จะจับมือกับก้าวไกลเป็นข้าวต้มมัดกันไปยาวๆ หรือ สละเรือย้ายขั้วตั้งรัฐบาลเอง

You May Also Like

More From Author