รัสเซีย ระส่ำระสายอีกครั้ง หลังกลุ่มต่อต้านบุกยึดเบลโกรอ

ภาพมุมสูงจากโดรนที่เผยให้เห็นเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นในเขตเชเบียคิโนในแคว้นเบลโกรอด ทางตะวันตกของรัสเซีย ไม่ไกลนักจากแคว้นคาร์คีฟของยูเครน โดยภาพเผยให้เห็นกลุ่มควันพวยพุ่ง ก่อนจะตามมาด้วยประกายไฟจากการระเบิด

ภาพวิดีโอนี้ถูกเผยแพร่โดยกลุ่มกองกำลังเสรีภาพรัสเซียซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุ โดยทางกลุ่มระบุว่าเป็นภาพขณะที่กำลังทำลายคลังอาวุธยุทโธปกรณ์ของทางการรัสเซีย

ใครมีหัวรบนิวเคลียร์มากกว่ากัน? หลังปูตินส่อใช้นิวเคลียร์อีกครั้ง

รัสเซีย สังหารกลุ่มติดอาวุธจากยูเครน 70 คน เกี่ยวข้องก่อวินาศกรรม

นอกจากกองกำลังเสรีภาพรัสเซียที่โจมตีคลังอาวุธในเบลโกรอดแล้ว สื่อของรัสเซียยังรายงานว่า กองทัพยูเครนได้ยิงปืนใหญ่โจมตีแคว้นเบลโกรอดด้วยเช่นกัน ส่งผลให้อาคารบ้านเรือนของประชาชน ตลอดจนถนนหนทางได้รับความเสียหายและเต็มไปด้วยเศษซากของกระสุน

 รัสเซีย ระส่ำระสายอีกครั้ง หลังกลุ่มต่อต้านบุกยึดเบลโกรอ

ประชาชนในพื้นที่เล่าว่าเหตุโจมตีเกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณตี 3 ตามเวลาท้องถิ่น โดยได้ยินเสียงปืนดังสนั่น และตามมาด้วยเสียงกระจกแตก ทำให้ต้องรีบหนีไปหลบภัยในห้องน้ำ ประชาชนบางคนบอกว่าความไม่สงบเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตั้งแต่พวกเขาอยู่ที่แคว้นเบลโกรอดมา

ด้านวยาเชสลาฟ กลาดคอฟ ผู้ว่าการแคว้นเบลโกรอดได้ออกมาเปิดเผยว่า อาวุธที่ยูเครนใช้โจมตีแคว้นเบลโกรอดคือ เครื่องยิงจรวดบีเอ็ม-21 แกรด ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยของพลเรือนเกิดเพลิงลุกไหม้และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 8 ราย

เมื่อคืนที่ผ่านมา หน่วยงานของแคว้นเบลโกรอดได้จัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวให้กับประชาชนที่ต้องอพยพหนีออกจากเขตเชเบียคิโน

นายกเทศมนตรีเมืองเบลโกรอดระบุว่ามีประชาชนมาลงทะเบียนเข้าใช้บริการกว่า 420 คน และมีอีกกว่า 130 คนที่ยังอยู่ระหว่างรอการลงทะเบียนเพื่อเข้าพักที่ศูนย์แห่งนี้

ตอนนี้เหตุการณ์การโจมตีที่เกิดขึ้นในแคว้นเบลโกรอด ได้ถูกรายงานไปยังรัฐบาลกลางรัสเซียแล้ว โดยดมิทรี เปสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซียได้ออกมากล่าวถึงเรื่องนี้ด้วยตนเองและชี้แจงว่า ประธานาธิบดีปูตินสั่งให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก

ตอนนี้สถานการณ์ที่แคว้นเบลโกรอดยังคงมีการโจมตีเกิดขึ้นอยู่เป็นระยะๆ หลายฝ่ายมองว่าความไม่สงบเช่นนี้จะเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้สงครามยูเครนซับซ้อนมากขึ้น แม้ทางการยูเครนจะไม่เคยออกมายอมรับว่าสนับสนุนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบก็ตาม ท่ามกลางความไม่สงบที่แคว้นเบลโกรอด วันนี้รัสเซียยังคงเปิดฉากโจมตีทางอากาศใส่อยู่เครนอย่างต่อเนื่อง

เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น เซอร์ฮี ปาปโก หัวหน้าหน่วยทหารประจำกรุงเคียฟรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเที่ยงคืน ระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนสามารถยิงสกัดขีปนาวุธและโดรนไปได้กว่า 36 ชนิด กองทัพอากาศของยูเครนได้เปิดเผยในภายหลังว่าอาวุธ 36 ชิ้นนี้ 15 ลูกเป็นขีปนาวุธร่อน ส่วนอีก 21 ลำเป็นโดรนชาเฮ็ดของอิหร่าน

ผลจากการโจมตีทำให้ระบบป้องกันทางอากาศดังขึ้นทั่วยูเครน โดยแผนที่แสดงการเตือนภัยทางอากาศของยูเครนในวันนี้เป็นสีแดงทั้งหมด โดยมีช่วงเวลาที่สัญญาณเตือนภัยดังระบุไว้ต่างกันในแต่ละพื้นที่ ด้านประชาชนโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในกรุงเคียฟต้องรีบเก็บข้าวของย้ายลงไปหลบภัยอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคำพูดจาก เว็บสล็อตแท้

ตอนนี้สำนักงานอัยการยูเครนเปิดเผยว่ามีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการโจมตีในครั้งนี้อย่างน้อย 2 ราย รายแรกเป็นเด็กวัย 11 ขวบ ส่วนอีกรายเป็นชายสูงอายุวัย 68 ปี โดยทั้งคู่ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว

ขณะเดียวกัน รุซลาน คราฟเชนโก หัวหน้าหน่วยทหารประจำแคว้นเคียฟให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เศษซากของขีปนาวุธที่ถูกยิงสกัดได้ ไปตกในพื้นที่กรุงเคียฟและสร้างความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือนราว 5 หลัง

นอกจากประเด็นการโจมตีทางอากาศแล้ว เมื่อวานนี้ทางการยูเครนออกมาเปิดเผยว่าจะเริ่มกระบวนการสืบสวนหาความจริง หลังจากคู่แม่-ลูกและหญิงอีกรายเสียชีวิตจากเศษซากขีปนาวุธ เพราะไม่สามารถเปิดหลุมหลบภัยได้ วิตาลี คลิตช์โก นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟระบุว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งสืบสวนเรื่องนี้อยู่ แต่อาจไม่สามารถรู้ผลได้ทันทีเนื่องจากประตูได้รับความเสียหาย

ขณะที่รัสเซียและยูเครนกำลังเผชิญปัญหาความไม่สงบที่เกี่ยวเนื่องมาจากสงคราม บรรดาชาติพันธมิตรตะวันตกก็ได้จัดการประชุมใหญ่ถึง 2 วง นั่นก็คือที่ประเทศมอลโดวาและนอร์เวย์ในเวลาเดียวกัน เพื่อหารือปัญหาในยุโรปที่เกี่ยวพันกับสงครามยูเครน

เริ่มที่วงประชุมแรกในเมืองบัลโบกา ประเทศมอลโดวา เพื่อนบ้านทางตะวันตกของยูเครน เมื่อวานนี้ บรรดาผู้นำจากชาติต่างๆ ในยุโรปกว่า 45 ชาติ ได้เข้าร่วมการประชุมการประชุมสุดยอดประชาคมการเมืองยุโรปครั้งที่ 2 โดยเนื้อหาสาระหลักของการประชุมนี้เน้นไปที่ความมั่นคงต่างๆ

ในสหภาพยุโรป เช่น ความมั่นคงของมอลโดวา สงครามยูเครน ปัญหาความขัดแย้งคอซอวอ-เซอร์เบีย รวมถึงปัญหาผู้ลี้ภัยในสหราชอาณาจักร

ผลลัพธ์จากการประชุมวงนี้เน้นไปที่ปัญหาเรื่องความมั่นคงของมอลโดวาและยูเครนเป็นหลัก สำหรับมอลโดวา ชาติสมาชิกยุโรปเห็นพ้องต้องกัน

ที่จะปรับใช้ภารกิจด้านพลเรือนของนโยบายร่วมด้านความมั่งคงและการป้องกัน เพื่อช่วยให้มอลโดวาสามารถจัดการกับภัยคุกคามแบบผสมที่เผชิญอยู่ตอนนี้ เช่น การก่อความไม่สงบโดยกลุ่มกองกำลังต่างชาติ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการที่รัสเซียรุกรานยูเครน

ส่วนกรณีของยูเครน ประเด็นหารือเป็นเรื่องของความช่วยเหลือด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านอาวุธ เมื่อวานนี้มาแตร์อุส มอราวีแยตสกี นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ได้ออกมาแถลงข่าวว่า โปแลนด์จะร่วมกับชาติพันธมิตรอื่นๆ ฝึกนักบินยูเครนให้ใช้เครื่องบินรบ F-16 โดยตอนนี้ได้วางตารางกำหนดการเอาไว้แล้ว

ด้านประธานาธิบดีเซเลนสกีก็ได้ออกมาแถลงเช่นกันว่า หลายชาติพันธมิตรได้เสนอความช่วยเหลือเกี่ยวกับเครื่องบินรบ F-16 ให้ยูเครนแต่เครื่องบินนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของสหรัฐฯ ดังนั้นจึงต้องจัดตั้งพันธมิตรเครื่องบินก่อนเพื่อให้ได้เครื่องบินรบ F-16 มา

นอกจากประเด็นการส่งอาวุธเพิ่มเติมให้ยูเครนแล้ว อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาอภิปรายคือ การรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปและนาโต

โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครนได้พูดเรื่องนี้อย่างชัดเจนและตรงไปตรงมาว่า เขาต้องการการตัดสินใจที่ชัดเจนเรื่องการเข้าเป็นสมาชิกนาโตของยูเครนในการประชุมสุดยอดผู้นำนาโตที่จะมีขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้

การพูดเช่นนี้ของโวโลดิมีร์ เซเลนสกี เป็นไปเพื่อส่งสารไปถึงอีกวงประชุมหนึ่งคือ การประชุมของรัฐมนตรีต่างประเทศของชาติสมาชิกนาโตที่กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ การประชุมรอบนี้เป็นการประชุมล่วงหน้า ก่อนที่การประชุมประจำปีของนาโตจะมีขึ้นที่กรุงวิลนีอุส ประเทศลิทัวเนียระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคมนี้

หัวข้อสำคัญในการประชุมของบรรดารัฐมนตรีต่างประเทศในรอบนี้คือ เรื่องการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต เนื่องจากเมื่อปี 2008 หรือ 15 ปีก่อน

นาโตเคยตกลงว่าจะรับยูเครนเข้ามาเป็นสมาชิก แต่ผลการประชุมออกมาไม่เป็นไปอย่างที่ยูเครนหวัง เพราะชาติสมาชิกนาโตมีความเห็นไม่ลงรอยกันเช่นกัน บางชาติเห็นด้วยให้รับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกสมาชิกนาโตในเวลานี้ ขณะที่บางประเทศไม่เห็นด้วย

โดยประเทศที่ไม่เห็นด้วยกับการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกสมาชิกนาโตในเวลานี้คือ เยอรมนี และฮังการี แอนาเลนนา แบร์บ็อค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนีให้ความเห็นว่านาโตไม่ควรพิจารณาประเทศที่อยู่ในภาวะสงครามเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่

ขณะที่ปีเตอร์ ซียาร์โต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฮังการีก็มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมระบุเสริมว่าไม่ควรบรรจุการรับยูเครนเป็นชาติสมาชิกใหม่ในวาระการประชุมนาโตซัมมิทในเดือนหน้าอย่างไรก็ดี กลุ่มประเทศที่เห็นด้วยกับการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกนาโต

เช่น ลิทัวเนีย ออกมาคัดค้านข้อถกเถียงดังกล่าว กราเบรียลิอุส แลนดส์เบอร์จิส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนียระบุว่า

ยูเครนถูกรุกรานไปแล้ว 2 ครั้งในช่วงเวลา 14 ปีที่รอเพื่อเข้าเป็นสมาชิกนาโต ดังนั้นตอนนี้คือ ช่วงเวลาที่สำคัญในการสร้างความชัดเจนเพื่อกำหนดกรอบเวลาสำหรับการยอมรับยูเครนเป็นชาติสมาชิกนาโต

ดังนั้นคำถามสำคัญคือ ประเด็นเรื่องการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกจะถูกผลักดันเข้าสู่ที่ประชุมนาโตซัมมิทหรือไม่

เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการขององค์การนาโต เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่าการรับยูเครนเข้าเป็นสมาชิกท่ามกลางภาวะสงครามไม่ได้อยู่ในวาระการประชุมปีนี้

You May Also Like

More From Author